DO ACTION - SERVICES

We do WordPress

หาผู้เชี่ยวชาญ WordPress อยู่ใช่ไหม? เราช่วยแก้ปัญหาและสร้างเว็บไซต์ที่โหลดเร็ว ดูแลง่าย พร้อมบริการสร้างปลั๊กอิน ระบบอีคอมเมิร์ซ และดูแลเว็บไซต์ ให้เราช่วยธุรกิจของคุณเติบโต

พูดคุยกับเรา

เรามีโอกาสได้ทำงานกับลูกค้าชั้นนำ

gmm music chulalongkorn university dusit rsidences chanintr cdg mk techsauce isuzu

ผลงานของเรา

ผลงานของเรา ใส่ใจทุกกระบวนการ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การพัฒนาธีม WordPress ที่สร้างขึ้นเอง การแก้ปัญหา และโซลูชันอีคอมเมิร์ซ

ประสบการณ์ 11 ปีในการพัฒนา WordPress โดยมีความเชี่ยวชาญในการสร้างเว็บไซต์ บล็อค, E-commerce, ปลั๊กอิน, E-Learning, และเว็บไซต์บริษัท

- บริการของเรา

หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ ให้บริการของเราช่วยแก้ปัญหาให้คุณ ไม่ว่าจะเป็นการทำเว็บไซต์, ระบบอีคอมเมิร์ซ, สร้างเว็บแอพพลิเคชั่น, ดูและเว็บไซต์ รวมถึงการสร้างปลั๊กอิน

Our services
  • สร้างเว็บไซต์ เราได้สร้างธีม WordPress แบบสร้างเอง โดยใช้ธีมเริ่มต้น (_s) เป็นพื้นฐาน ด้วยการปรับแต่งและตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออก ทำให้เล็ก เบา โหลดเร็ว ตรงตามความต้องการของลูกค้า เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
  • อีคอมเมิร์ซ สร้างร้านค้าออนไลน์โดยใช้ WooCommerce เป็นจุดเริ่มต้น เราพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการเฉพาะ โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ WooCommerce เพื่อความเรียบง่ายและการบำรุงรักษาที่ง่ายดาย
  • สร้างแอพพลิเคชั่น WordPress เป็นอะไรมากกว่าแค่ไว้เขียนบทความ เราสามารถใช้ WordPress เป็นพื้นฐานและสามารถแปลงเป็นเว็บแอพพลิเคชั่น ที่ซับซ้อนได้มากกว่าที่คุณจินตนาการได้
  • สร้างปลั๊กอิน เรามีสินค้า Designil PDPA, Designil Code, และ do action's store, เรายังมีบริการพัฒนาปลั๊กอิน ตามความต้องการของลูกค้าอีกด้วย
  • ปรึกษาและดูแลเว็บไซต์ เรามีบริการบำรุงรักษาเว็บไซต์เพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณทำงานได้อย่างราบรื่น ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี เราสามารถแนะนำวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ซึ่งรับประกันผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ เราพร้อมช่วยให้เว็บไซต์ของคุณเติบโตและประสบความสำเร็จ!
ปลั๊กอิน WordPress

สินค้าของเราที่มีขายอยู่ในตลาดมากกว่า 8 ปี โดยมีทั้งการสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA และการเพิ่มความสามารถให้ WooCommerce

บทความ

รวบรวมความรู้ เคล็ดลับ การใช้งานที่เกี่ยวกับการทำเว็บไซต์และ WordPress

การสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress มีกี่แบบ ทำไมราคาถึงต่างกันมาก

การสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress มีกี่แบบ ทำไมราคาถึงต่างกันมาก

หลายคนที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress อาจมีคำถามว่าทำไมราคาค่าพัฒนาถึงมีความแตกต่างกันอย่างมาก ตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสนบาทหรือสูงกว่านั้น ความแตกต่างของราคานี้เกิดจากกระบวนการพัฒนาเว็บไซต์ที่หลากหลาย ส่งผลให้ต้นทุนและระยะเวลาในการทำงานมีความไม่เหมือนกัน บทความนี้จะอธิบายถึงวิธีการพัฒนาเว็บไซต์ด้วย WordPress ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน พร้อมทั้งชี้แจงสาเหตุว่าทำไมราคาของแต่ละรูปแบบถึงแตกต่างกัน สร้างด้วยธีมสำเร็จรูปในตลาด การใช้ธีมสำเร็จรูป (Pre-made Themes) นับเป็นวิธีการสร้างเว็บไซต์ WordPress ที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด ปัจจุบันมีธีมสำเร็จรูปให้เลือกมากมาย ทั้งในรูปแบบธีมฟรีจาก WordPress.org และธีมที่จำหน่ายในตลาด เช่น ThemeForest หรือ จากผู้พัฒนาของฝั่งไทยก็มี Seed Themes ผู้ใช้งานสามารถเลือกธีมที่ตรงกับความต้องการและติดตั้งได้ทันที จากนั้นสามารถปรับเปลี่ยนสี สไตล์ รวมถึงเนื้อหาเพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจหรือองค์กรได้ ข้อดีของการใช้ธีมสำเร็จรูปในการสร้างเว็บไซต์คือ ค่าใช้จ่ายต่ำ โดยธีมส่วนใหญ่มีราคาประมาณ 30-100$ หรือในบางกรณีก็เป็นฟรี ทำให้เหมาะสำหรับผู้ที่มีงบประมาณจำกัด นอกจากนี้ยังใช้เวลาในการพัฒนาน้อย เนื่องจากธีมสำเร็จรูปมีการออกแบบและพัฒนามาแล้ว ผู้ใช้เพียงปรับแต่งเนื้อหาและรูปแบบให้เหมาะสมก็สามารถใช้งานได้ทันที ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเว็บไซต์แบบง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาในการออกแบบและพัฒนาด้วยตนเอง ข้อเสียของการใช้ธีมสำเร็จรูปคือ ความยืดหยุ่นในการปรับแต่งมีข้อจำกัดในกรณีที่ธีมไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงหรือการปรับแต่งตามที่ต้องการ นอกจากนี้ ธีมสำเร็จรูปยังไม่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการฟังก์ชันพิเศษหรือดีไซน์ที่มีความเฉพาะเจาะจงและซับซ้อนเป็นพิเศษ ซึ่งอาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการในด้านความสวยงามหรือการใช้งานเฉพาะทางได้ แต่ข้อดีคือเรื่องราคาและเวลาจะซึ่งใช้ในการพัฒนาต่ำที่สุด ราคา: เริ่มต้น หลักพัน – ไปจนถึงหลายหมื่นบาท ($) […]

CompressX: WordPress ปลั๊กอินลดขนาดรูปฟรี ที่ทุกไซต์ควรมี

CompressX: WordPress ปลั๊กอินลดขนาดรูปฟรี ที่ทุกไซต์ควรมี

ไม่นานมานี้ได้มีโอกาสทำเว็บไซต์ Personal Brand เลยไปเจอกับปลั๊กอินตัวนึงซึ่งดีมากๆ ดีเกินจริงไป โดยมีความสามารถ ที่ช่วยลดขนาดรูปภาพที่อัพขึ้นไปบนเว็บไซต์, แปลงเป็นฟอร์แมต WebP หรือ AVIF, เลือก library ที่ต้องการใช้ในการแปลงรูปได้, จัดการรูปที่เคยอัพไปแล้วได้ด้วย, กำหนดขนาดรูปสูงสุด และยังมีฟีเจอร์อีกมากมาย จนคิดว่าเป็นปลั๊กอินเสียตังค์แน่ๆ แต่ทั้งหมดที่ว่านั้นคือฟรี เราลองมาดูกันว่ามีฟีเจอร์อะไรที่น่าสนใจบ้าง เลือกไลบรารี่ที่จะมาใช้บีบอัดรูปภาพ เราสามารถเลือก ไลบรารี่ที่จะมาเอามาช่วยแปลงไฟล์ได้ โดยให้เลือกระหว่าง GD: จะเป็น PHP Extension ที่ช่วยจัดการย่อขนาดรูป ข้อดีโดยจะมีความเร็วกว่า ในการจัดการรูปขนาดใหญ่ แต่ข้อเสียจะรองรับฟอร์แมตไฟล์ได้น้อยกว่า Imagick: เป็นอีกทางเลือกหนึ่งโดยจะรองรับฟอร์แมตได้เยอะกว่า และทำให้รูปภาพออกมาได้คุณภาพที่สูงกว่า โดยเราสามารถคลิกเพื่อตรวจสอบได้ว่า Hosting ที่เราใช้งานได้ทำการเปิด Extension ดังกล่าวไว้ไหม ได้ที่ลิงก์ Check Environment เลือกฟอร์แมต WebP, AVIF ความแตกต่างระหว่างทั้งสองฟอร์ตแมตสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม โดย WebP: เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เพราะรองรับบนเบราว์เซอร์หลักและแพลตฟอร์มที่หลากหลาย และยังคงให้คุณภาพสูงพร้อมขนาดไฟล์เล็กกว่าฟอร์แมตดั้งเดิม (JPEG, PNG) AVIF: […]

ใช้ Gutenburg อย่างไรไม่ให้ผู้ใช้ทำเว็บพัง ด้วย Overrides Pattern

ใช้ Gutenburg อย่างไรไม่ให้ผู้ใช้ทำเว็บพัง ด้วย Overrides Pattern

ปัจจุบัน Gutenberg ได้พัฒนาไปไกลจนสามารถรองรับ Full Site Editing (FSE) ได้อย่างสมบูรณ์ ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ตั้งแต่ Header, Footer ไปจนถึงส่วนประกอบอื่น ๆ บนหน้าเว็บ โดยไม่ต้องพึ่งธีมหรือโค้ดเพิ่มเติมมากนัก นอกจากนี้ บล็อกต่าง ๆ ยังมีคุณสมบัติปรับแต่งที่หลากหลาย ช่วยให้การออกแบบยืดหยุ่น อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบได้บ่อยสำหรับนักพัฒนาและผู้ใช้คือความผิดพลาดที่เกิดจากการแก้ไขหรือปรับแต่งแบบไม่ตั้งใจ (เช่น การเปลี่ยน Component หรือ Layout โดยไม่ระวัง) ซึ่งอาจทำให้การจัดวางโครงสร้างเว็บไซต์เสียหายหรือ “พัง” ได้ เพื่อตอบโจทย์ปัญหานี้ WordPress ตั้งแต่เวอร์ชัน 6.6 ขึ้นไป ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า Overrides Pattern ซึ่งช่วยป้องกันการแก้ไขที่อาจส่งผลต่อการทำงานของส่วนประกอบต่าง ๆ  Pattern คืออะไร ? Pattern ใน WordPress คือชุดของ Blocks หลาย ๆ ตัวที่ถูกรวมเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นกลุ่มหรือโครงสร้างสำเร็จรูป เปรียบเสมือน […]

ทำไม Meta Box ถึงเป็นปลั๊กอินจัดการฟิลด์ที่น่าใช้ใน WordPress

ทำไม Meta Box ถึงเป็นปลั๊กอินจัดการฟิลด์ที่น่าใช้ใน WordPress

เมื่อไม่นานมานี้ วงการ WordPress ได้รับผลกระทบจากการขัดแย้งครั้งใหญ่ระหว่าง WordPress และ WP Engine ที่ทำให้หลายๆ คนตกใจและสงสัยในเส้นทางของทั้งสองยักษ์ใหญ่ โดยความขัดแย้งนี้ไม่เพียงแค่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการโฮสต์ของ WP Engine เท่านั้น แต่ยังขยายไปถึงการปิดกั้นปลั๊กอิน ACF ที่เกี่ยวข้องและการแบนจาก Directory ของ WordPress.org ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้งานที่อยู่ในระบบของ WP Engine อาจไม่สามารถเข้าถึงการอัพเดทหรือการสนับสนุนจาก WordPress ได้อีกต่อไป หนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจคือปลั๊กอิน Meta Box ซึ่งทำหน้าที่จัดการฟิลด์ได้อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับ Meta Box ว่ามีฟีเจอร์อะไรบ้างที่น่าลอง และทำไมมันถึงกลายเป็นปลั๊กอินยอดนิยมที่ถูกกล่าวถึงในช่วงนี้ ข้อแตกต่างระหว่าง ACF vs META BOX ปลั๊กอิน ACF (Advanced Custom Fields) เวอร์ชันโปรจะมาพร้อมกับความสามารถพื้นฐานที่หลากหลาย เช่น การจัดการ Options Page, ฟิลด์, และ Post Type […]

เปลี่ยน WordPress ให้เป็น Backend ด้วยพลังของ REST API

เปลี่ยน WordPress ให้เป็น Backend ด้วยพลังของ REST API

WordPress ไม่ใช่แค่ระบบสร้างเว็บไซต์หรือเครื่องมือในการจัดการเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังมีฟีเจอร์ API ที่ช่วยขยายความสามารถในการพัฒนาและเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ไม่ว่าคุณจะต้องการสร้างแอปพลิเคชันหรือเชื่อมต่อกับบริการต่างๆ WordPress API สามารถช่วยคุณได้ บทความนี้จะพาคุณทำความรู้จักกับ WordPress API และวิธีการนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด คนเริ่มใช้ WordPress เป็น Backend มากขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การใช้งาน WordPress ในฐานะ Backend กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น สาเหตุหลักมาจากการที่นักพัฒนาเริ่มหันไปใช้ React และ Vue.js ในการสร้าง Frontend และใช้ WordPress API (REST API) นั้นสามารถทำงานร่วมกับ Frameworks เหล่านี้ได้อย่างราบรื่น ทำให้ WordPress ไม่ได้เป็นแค่ระบบจัดการเนื้อหา (CMS) อีกต่อไป แต่กลายเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้เป็น Backend ในการเก็บและส่งข้อมูลไปยัง Frontend ได้ WordPress API เริ่มต้นมีอะไรมาให้ใช้บ้าง ? ใน WordPress REST […]

ปลอดภัยอีกขั้น เพิ่ม Layer ด้วยการซ่อน wp-login ให้ WordPress

ปลอดภัยอีกขั้น เพิ่ม Layer ด้วยการซ่อน wp-login ให้ WordPress

การไม่ซ่อนหน้า wp-login.php ในเว็บไซต์ WordPress บน Production เป็นประเด็นที่สำคัญในด้านความปลอดภัย แม้ว่าจะเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ มาตรการที่ควรนำมาปฏิบัติ การซ่อนหน้า wp-login.php สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการโจมตีแบบ Brute Force ซึ่งเป็นการพยายามสุ่มรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบ นอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกแฮกแล้ว ยังอาจทำให้เซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักขึ้นจากการโจมตีด้วยการสุ่มรหัสผ่านอย่างต่อเนื่อง หากต้องการเปิดหน้า wp-login.php เอาไว้ก็สามารถทำได้ แต่ควรมีการตั้งค่าจำกัดจำนวนครั้งในการพยายามเข้าสู่ระบบ และหากเกินจำนวนที่กำหนดก็สามารถตั้งค่าให้แบน IP ได้ วิธีนี้ดีกว่าการเปิดไว้โดยไม่มีการจำกัดอะไรเลย เนื่องจาก bot มักจะวิ่งหา wp-login.php โดยอัตโนมัติและพยายามเข้าสู่ระบบ หากเราเปลี่ยน URL ของหน้าล็อกอิน ก็จะช่วยถ่วงเวลาให้ bot หาหน้าล็อกอินได้ยากขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับเว็บไซต์ได้มากขึ้น คำแนะนำเรื่องการป้องกัน Brute Force จาก WordPress โดยตามคำแนะนำเป็นทางการของ WordPress เรื่องการป้องกัน Brute Force แนะนำให้ทั้งหมดดังนี้ วิธีการสร้าง .htpasswd เพื่อป้องกันการเข้าถึง wp-login โดยตรง วิธีการซ่อนการเข้าถึง […]

หากมีคำถาม หรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับ WordPress

สำนักงาน

  • บริษัท ดู แอคชั่น จำกัด
    66 ซอยเพชรเกษม 98/1, ถนนเพชรเกษม,
    แขวงบางแคเหนือ, เขตบางแค
    กรุงเทพมหานคร
    10160
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อเสริมประสบการณ์การใช้งานของคุณ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า